หน้าเว็บ

ยินดีต้อนรับทุกท่านที่มาเยือน

โลกแห่งสันติภาพ

วันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เพลงที่เพราะมาก ๆ

วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2554

รักประเทศไทย

เราเป็นคนไทย ต้องรักษาไว้ซึ่งอธิปไตย รัฐบาลตัดสินใจถูกแล้วที่ถอนตัวจากการเป็นมรดกโลก เราทุกคนรู้ดีว่า เงินไม่เข้าใครออกใคร แต่ประเทศไทยเรายอมไม่ได้ ไม่ยอมเสียดินแดน เขมรดูกร่างเหลือเกิน มีอะไรอย่เบื้องหลังนี้หรือเปล่า คนขายชาติ สักวันจะไม่จบไม่สวย ลิเบียสร้างความขัดแย้งขนาดไม่ขายชาติ ยังร้อนระอุ ฮุนเซน มีโอกาสที่จะเหมือนลิเบีย เชื่อว่าคนเขมรเองคงถึงจุดขีดสุด ฮุนเซนรวยเอา ๆ ในขณะประชาชนยากจน ประเทศไทยรับมาทำงานเท่าไร มาขอทาน นี่คือบทสรุปว่าประเทศชาติเขาดูแลอย่างไร

วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2554

บทความเรื่อง กระบวนการจัดการชั้นเรียน : ห้องเรียนแห่งความสุข

บทความเรื่อง กระบวนการจัดการชั้นเรียน : ห้องเรียนแห่งความสุข
The article about [ story ] , the procedure manages the classroom , : , classroom is happiness ,

เรียบเรียงโดย นางสาวศรีนวล มีเพ็งจันทร์ (ครูอ้อ)
Srinual.me@gmail.com

การจัดการชั้นเรียน มิได้หมายถึง เพียงแค่การที่ผู้บริหารหรือคุณครูได้ควบคุม แก้ไขหรือดัดพฤติกรรมของนักเรียนเท่านั้นแต่การจัดการชั้นเรียน เป็นกระบวนการจัดสภาวะแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน เพื่อสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุขการจัดสภาพแวดล้อมจะต้องคำนึงถึงความสะอาด ความปลอดภัย ความอิสระอย่างมีขอบเขต สะดวกในการทำกิจกรรม การอำนวยความสะดวก ด้านสื่อ บรรยากาศในการเรียนรู้ มีมุมประสบการณ์ต่างๆ
การจัดบรรยากาศทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนต้องเอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามธรรมชาติ สอดคล้องกับการพัฒนาการของผู้เรียนในแต่ละช่วงวัย เรียนรู้ด้วยความสนใจ สนุกสนาน โดยผู้บริหาร ครู และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ต้องเพิ่มความสำคัญสะอาดรวมถึงความปลอดภัยด้วย ให้ผู้เรียนมีความรู้สึกอบอุ่น มั่นใจ และมีความสุข หรือจัดมุมที่จะใช้ ในการจัดกิจกรรมในการเคลื่อนไหวบ้าง ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีการวางแผนและแก้ปัญหาด้วยตนเองหรือโดยกลุ่ม พร้อมทั้งเนื้อหาหลักสูตรที่ใช้สอนเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันปัญหาพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในห้องเรียน เนื้อหาจะต้องเป็นลำดับขั้นตอนที่ผู้เรียนทำในทีละขั้น โดยมีข้อผิดพลาดน้อยที่สุด ถ้าเป็นไปได้ควรให้ผู้เรียนผ่านระดับความสามารถของเขา และกิจกรรมการเรียนการสอน ครูจะต้องเตรียม เพื่อให้ผู้เรียนสนใจและใช้เวลาเรียนรู้ได้เต็มที่ โดยมีเวลาว่างระหว่างกิจกรรมมากจนผู้เรียนเกิดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ขึ้น เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน เอาใจใส่ติดตามการทำงานของผู้เรียน เพื่อให้คำแนะนำ หรือชมเชยผู้ที่ทำได้ การปฏิบัติเพื่อปรับพฤติกรรมของผู้เรียนให้มีวินัยในห้องเรียน ต้องมีข้อตกลงกฎกติกาของห้อง จะเป็นแนวทางให้ผู้เรียนเคารพและแสดงพฤติกรรม โดยข้อตกลงต้องทำร่วมกันระหว่างครูผู้สอนกับผู้เรียนได้ กฎกติกามีต้องไม่เกิน 3-4 ข้อ เพื่อให้ผู้เรียนทุกคนเข้าใจ
การจัดการชั้นเรียนที่ดี ผู้บริหาร ครูผู้สอน ผู้เกี่ยวข้อง ต้องมีแนวคิดที่จะวิวัฒนาการด้านการศึกษาให้เหมาะสม สามารถบูรณาการการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับชุมชน หรือท้องถิ่นได้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการนำไปสู่สังคมที่ดีและมีความสงบสุข พฤติกรรมของผู้เรียนจะเปลี่ยนแปลงได้ถ้าครูเป็นแบบอย่างที่ดี ส่งเสริมการเรียนรู้ มีหลักการและเทคนิคการปรับพฤติกรรมในชั้นเรียนได้ การจัดกิจกรรมในการแก้ปัญหา สามารถทำได้ และเมื่อผู้เรียนมีการทำผิดกติกา ก็ควรมีวิธีการทบทวนใหม่ และต้องไม่ซ้ำเติมผู้ที่ผิดพลาด เพราะผู้เรียนในแต่ละวัยความแตกต่างทางความคิดย่อมมีเป็นธรรมดา ครูต้องหาสาเหตุให้ชัดเจน พร้อมทั้งหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา โดยนำเทคนิคบางประการที่ครูจะสามารถนำไปปรับใช้ได้กับการจัดการพฤติกรรมของผู้เรียนแต่ละคนได้ และต้องมีความเป็นประชาธิปไตยด้วย
การจัดการในชั้นเรียนจึงนับว่าเป็นหัวใจสำคัญของครูผู้ที่ทำหน้าที่ในการสอน ซึ่งต้องมีความสามารถในการการจัดการในชั้นเรียน โดยเข้าใจบทบาท มีความรับผิดชอบ ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน ก็จะทำให้เป็นห้องเรียนแห่งความสุข
การจัดการในชั้นเรียนที่ดีนั้น ต้องมีกระบวนการบริหารจัดการชั้นเรียน การจัดบรรยากาศจัดการเรียนการสอน มีระบบการจัดทำข้อมูลสารสนเทศและเอกสารข้อมูล ที่สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียนได้อย่างเต็มศักยภาพ พร้อมทั้งส่งเสริมให้ผู้เรียนช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ปลูกฝังให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้น มีเทคนิคการปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้เรียนเอง การกำกับดูแลชั้นเรียนที่ดี ตลอดจนการปฏิบัติ ซึ่งสามารถใช้ในการปรับพฤติกรรมของผู้เรียน ได้ สิ่งเหล่านี้คือองค์ประกอบที่สำคัญมาก
“ เริ่มต้นดี มีชัยไปกว่าครึ่ง”
“สอนให้คนเก่งไม่ยาก แต่สอนให้คนเก่งและเป็นคนดีนั้นยาก”

ความเชื่อและความรู้สึกที่ว่า ชั้นเรียนที่มีขนาดของจำนวนผู้เรียนน้อย จะทำให้คุณภาพของการศึกษาโดยรวมดีขึ้นนั้น อาจจะไม่แน่เสมอไป เนื่องจากมีรายงานวิจัยหลายชิ้นระบุว่า การสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่ดีในห้องเรียนนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ มิได้ขึ้นกับจำนวนผู้เรียนต่อครูในชั้นเรียนเพียงอย่างเดียว ในการศึกษาอื่นๆ ยังพบว่า ชั้นเรียนขนาดเล็กจะเป็นประโยชน์มากที่สุดสำหรับการศึกษาในระดับประถมต้นๆ รวมถึงเด็กที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้ (LD) และเด็กปัญญาเลิศ นอกจากนี้ การวิจัยยังพบว่า ชั้นเรียนขนาดเล็กจะมีผลต่อคุณภาพการศึกษาในวิชาคณิตศาสตร์และการอ่านในระดับประถม ขณะที่ชั้นเรียนขนาดเล็กในระดับมัธยม จะมีผลกระทบทางบวกไม่มากนักต่อคุณภาพการศึกษาในการเรียนวิชาต่างๆส่วนใหญ่ ยกเว้นวิชาที่ต้องอาศัยการฝึกฝนทักษะมากกว่าเนื้อหา อาทิเช่น อุตสาหกรรมศิลป์ วิจิตรศิลป์ ดนตรี และการเขียน เป็นต้น
ส่วนในระดับมหาวิทยาลัยนั้นพบว่า การจัดชั้นเรียนขนาดเล็กจะมีประโยชน์สำหรับการเรียนที่มีจุดประสงค์ในการฝึกคิด การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ ตลอดจนเพื่อการปรับเปลี่ยนทัศนคติในบางเรื่อง แต่หากมีจุดประสงค์เพื่อเน้นเนื้อหาสาระความรู้ การจัดชั้นเรียนขนาดเล็กก็จะไม่มีผลต่อคุณภาพของการเรียนรู้เท่าใดนัก อย่างไรก็ตาม ข้อดีของชั้นเรียนขนาดใหญ่ในการศึกษาระดับนี้คือ นักศึกษาจะรู้สึกกดดันน้อยกว่า และสามารถเข้าเรียนได้โดยไม่จำเป็นต้องระบุชื่อเสียงเรียงนามของตนเอง ทำให้นักศึกษารู้สึกเป็นอิสระในการเรียนมากกว่า นอกจากนี้แล้ว ชั้นเรียนขนาดใหญ่ยังจะช่วยส่งเสริมแนวทางการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยตนเองต่อไปด้วย
เนื่องจากชั้นเรียนมีความสำคัญ เปรียบเสมือนบ้านที่สองของผู้เรียน อิทธิพลของชั้นเรียนจึงมีมากพอที่จะปลูกฝังลักษณะของผู้เรียนให้เป็นแบบที่ต้องการได้ เช่น ให้เป็นตัวของตัวเอง ให้สามารถทำงานเป็นหมู่คณะได้ดี ให้ชอบแสวงหาความรู้อยู่เสมอ ให้มีความรับผิดชอบ ให้รู้จักคิดวิเคราะห์ ดังนั้นเพื่อให้นักเรียนมีคุณลักษณะนิสัยดังประสงค์ และมีความรู้สึกอบอุ่นสบายใจในการอยู่ในชั้นเรียนครูจึงควรคำนึงถึงกระบวนการจัดการชั้นเรียนที่ต้องมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา
ถ้าครูแสดงความเป็นมิตร นักเรียนจะอบอุ่นใจ
ถ้าครูยิ้มแย้ม นักเรียนจะแจ่มใส
ถ้าครูมีอารมณ์ขัน นักเรียนจะเรียนสนุก
ถ้าครูกระตือรือร้น นักเรียนจะกระปรี้กระเปร่า
ถ้าครูมีนำเสียงนุ่มนวล นักเรียนจะสุภาพอ่อนน้อม
ถ้าครูแต่งตัวเรียบร้อย นักเรียนจะเคารพ
ถ้าครูให้ความเมตตาปรานี นักเรียนจะมีจิตใจอ่อนโยน
ถ้าครูให้ความยุติธรรม นักเรียนจะศรัทธา
และขาดไม่ได้เลยคือบรรยากาศแบบประชาธิปไตย ผู้เรียนและครูจะยอมรับความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ครูเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็น ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ได้รู้จักทำงานร่วมกัน รู้จักสิทธิและหน้าที่ของตนเอง มีเหตุมีผล ผู้เรียนจะรู้สึกสบายใจในการเรียน เป็นกระบวนการจัดชั้นเรียนทีประสบความสำเร็จและเป็นบรรยากาศที่ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี จะเห็นได้ว่า ครูที่ มีลักษณะความเป็นผู้นำแบบประชาธิปไตย ก็จะสร้างบรรยากาศแบบประชาธิปไตย ทำให้นักเรียนรู้สึกสบายใจที่จะเรียน มีความกระตือรือร้นในการเรียนมากกว่าประเภทอื่น ๆ บุคลิกภาพของครูจึงมีส่วนสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ได้อย่างมาก
ครูปลูกฝังความรักในการเรียนรู้ให้ลูกศิษย์ สอนโดยไม่คำถึงผลประโยชนที่จะได้รับ และสร้างความรักความศรัทธามอบให้ศิษย์ สิ่งเหล่านี้คือความเจริญงอกงามของความเป็น “ครู”

เอกสารอ้างอิง

มินตรา เกษศิลป์. การบริหารจัดการชั้นเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 2
,14,ภาพนิ่ง 14
<www.thailocaladmin.go.th/work/e_book/eb6/eb6.../3km9.pdf> <http://www.phayao1.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538683293&Ntype=3>

วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2554

คน..อำนาจ

คน..อยากเป็นผู้นำ อยากมีอำนาจ คนแสดงอำนาจ สิ่งเหล่านี้..ล้วนแล้ว...
ให้อยู่ในความพอเพียง..ตามรอยของพ่อ..ทุกสิ่งทุกอย่างก็จะไม่เกิดขึ้น แต่ที่ต้องการอำนาจโดยการขดขี่เหยียบย่ำบุคคลอื่นให้เจ็บช้ำ ต่อต้าน..งานที่ตัวเองรับผิดชอบไม่ทำ อยากทำในสิ่งที่ตนเองไม่มีอำนาจ..เขาเรียกว่า...อะไร...ความพอเพียงใช้ได้กับทุกสถานะของคนทุกคน...ความรวย..ความรู้....หามาได้...แต่ถ้าไม่หาความดีมาไว้... ก็อย่าได้หวังเลยว่า..จะได้รับจากใคร...แม้แต่ตัวเอง...เพราะไม่เข้าใจคำว่า..พอเพียง...

คนการเมือง

นักการเมืองในปัจจุบัน ที่ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่เบื่อ คือ นักการเมืองที่เข้ามามีบทบาททางอำนาจ เพื่อปกป้องสิทธิประโยชน์ และเห็นแก่อำนาจ โต้แย้งมากกว่าจะแก้ปัญหา

วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2554

วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2554

หลักธรรมาภิบาล

ระบบการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี หรือหลักธรรมาภิบาล(GOOD GOVERNANCE)
ระบบการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี หรือหลักธรรมาภิบาล(GOOD GOVERNANCE)
หลักธรรมาภิบาล หมายถึง แนวทางในการจัดระเบียบเพื่อให้สังคมของประเทศทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ เอกชนและภาคประชาชน สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข และตั้งอยู่ใน ความถูกต้องเป็นธรรม ตามหลักพื้นฐานการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามแผนภาพ ดังนี้1. หลักนิติธรรม (The Rule of Law) หลักนิติธรรม หมายถึง การปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ โดยถือว่าเป็นการปกครองภายใต้กฎหมายมิใช่ตามอำเภอใจ หรืออำนาจของ ตัวบุคคล จะต้องคำนึงถึงความเป็นธรรม และความยุติธรรม รวมทั้งมีความรัดกุมและ รวดเร็วด้วย2. หลักคุณธรรม (Morality) หลักคุณธรรม หมายถึง การยึดมั่นในความถูกต้อง ดีงาม การส่งเสริม ให้บุคลากรพัฒนาตนเอง ไปพร้อมกัน เพื่อให้บุคลากรมีความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบ วินัย ประกอบอาชีพสุจริต เป็นนิสัย ประจำชาติ3. หลักความโปร่งใส (Accountability) หลักความโปร่งใส หมายถึง ความโปร่งใส พอเทียบได้ว่ามีความหมาย ตรงข้าม หรือเกือบตรงข้าม กับการทุจริต คอร์รัปชั่น โดยที่เรื่องทุจริต คอร์รัปชั่น ให้มี ความหมายในเชิงลบ และความน่าสะพรึงกลัวแฝงอยู่ ความโปร่งใสเป็นคำศัพท์ที่ให้แง่มุมในเชิงบวก และให้ความสนใจในเชิงสงบสุข ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ได้สะดวกและเข้าใจง่าย และมีกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบความถูกต้องอย่างชัดเจนในการนี้ เพื่อเป็น สิริมงคลแก่บุคลากรที่ปฏิบัติงานให้มีความโปร่งใส ขออัญเชิญพระราชกระแสรับสั่งในองค์พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ที่ได้ทรงมีพระราชกระแสรับสั่ง ได้แก่ ผู้ที่มีความสุจริต และบริสุทธิ์ใจ แม้จะมีความรู้น้อยก็ย่อมทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมได้มากกว่าผู้ที่มีความรู้มาก แต่ไม่มีความสุจริต ไม่มีความบริสุทธิ์ใจ4. หลักการมีส่วนร่วม (Participation) หลักการมีส่วนร่วม หมายถึง การให้โอกาสให้บุคลากรหรือผู้มี ส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมทางการ บริหารจัดการเกี่ยวกับการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ เช่น เป็นคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และหรือ คณะทำงานโดยให้ข้อมูล ความคิดเห็น แนะนำ ปรึกษา ร่วมวางแผนและร่วมปฏิบัติ5. หลักความรับผิดชอบ (Responsibility ) หลักความรับผิดชอบ หมายถึง การตระหนักในสิทธิและหน้าที่ ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม การใส่ใจปัญหาการบริหารจัดการ การกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา และเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง รวมทั้งความกล้าที่จะยอมรับผลดีและผลเสียจากกระทำของตนเอง6. หลักความคุ้มค่า (Cost – effectiveness or Economy) หลักความคุ้มค่า หมายถึง การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม โดยรณรงค์ให้บุคลากรมีความประหยัด ใช้วัสดุอุปกรณ์อย่างคุ้มค่า และรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้สมบูรณ์ยั่งยืน

วันเสาร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2554

วันอังคารที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2554

วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2554

วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554